วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สมเด็จพระปิยะมหาราช วัดเพลง พระอุโบสถสีชมพู


สวัสดีครับพี่น้อง หลังจากวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสำคัญที่ปวงชนชาวไทยได้มีโอกาสถวายความจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่ลานพระบรมรูปทรงม้ากันมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีที่ปวงชนชาวไทยยังรักและเคารพในองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร.5 อย่างสุดซึ้ง ซึ่งตัวผมเองก็ได้มีโอกาสได้ไปถวายความจงรักภักดีด้วยเช่นกัน




สำหรับวัดที่ผมได้ไป ก็คือ วัดเพลง นนทบุรี ที่ผมได้เขียนไปแล้วก่อนหน้านั้น สำหรับวันนี้ผมก็จะนำบรรยากาศภายในวัดมาฝากพี่น้องได้ชมกัน ซึ่งในวันนั้นมีประชาชนมากมายได้ไปถวานความจงรักภักดีที่วัดเพลงแห่งนี้ ซึ่งมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่ทรงให้เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ ครูบาศรีนวล ได้มาสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ซึ่งจากเดิมนั้นเป็นวัดร้างมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันวัดแห่งนี้ได้บูรณะขึ้นอย่างงดงามอย่างยิ่ง หากใครมีโอกาสได้ไปแถว ๆ นี้ ก็อย่าลืมไปถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ ณ วัดเพลงแห่งนี้ หรือว่าทุก ๆ วันอาทิตย์ที่วัดแห่งนี้ก็จะมีการให้ประชาชนทั่วไปได้ทำบุญสร้างเสริมบารมี

ภายในพระอุโบสถมีประประธานที่สร้างได้สวยงาม ตามพุทธลักษณะ และมีความเป็นพุทธศิลป์ ทั้งภายในและภายนอกมีลวดลายที่ผนังที่ปราณีตงดงาม นับว่าเป็นพระอุโบสถที่สร้างได้อย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ แห่งความเป็นศิลป์ร่วมสมัย ที่ถวายแด่องค์สมเด็จพระปิยะมหาราช ของปวงชนชาวไทยสืบไปภายในงานวันที่ 23 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี ได้มีประชาชนทั่วไปที่มีความศรัทธาต่อองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ได้มาบูชาทำพิธีสวดมนต์ ปลดหนี้ ปลดทาส เพื่อเป็นสิริมงคล เสริมดวง เสริมบารมี ซึ่งเป็นบทสวดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากใครได้เข้าพิธีแห่งนี้ ก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีเงินมีทอง ใครมีหนี้มีสิน ก็เข้าร่วมพิธีนี้แล้วหนี้สินก็จะบรรเทาเบาบางลง
บรรยากาศภายในวัดเพลงแห่งนี้ก็ร่มรื่นมาก วันหยุดไปทำบุญพักผ่อนจิตใจ เข้าวัดฟังธรรม จิตใจก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วัดโบสถ์สีชมพู วัดเพลง วัดสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง




วันนี้ผมจะพาไปเที่ยววัดที่มีความสำคัญเกี่ยวกับ พระพุทธเจ้าหลวง ที่ประชาชนทั่วไปใช้แทนพระนามของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นก็คือ วัดเพลง นนทบุรี ซึ่งชาวนนทบุรี และใกล้เคียงรู้จักกันเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวัดเพลงแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี นั่นเอง
สำหรับวัดเพลง นอกจากจะมีพระบรมรูปสมเด็จพระปิยมหาราช แล้ว ยังมีพระอุโบสถที่มีความงดงามมาก ทาด้วยสีชมพู ซึ่งเป็นสีที่มีความหมายของสีประจำพระองค์ ที่วัดเพลงแห่งนี้มีครูบาศรีนวล ธัมมาวุฑโฒ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้พบวัดแห่งนี้โดย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง บอกในนิมิต จึงได้ธุดงค์จากล้านนาสู่เมืองใต้เพื่อค้นหา จนกระทั่งเจอวัดแห่งนี้ในสภาพของวัดร้างในปี 2530 ด้วยสัมผัสจริงกับสภาพ (ในขณะนั้น) เชื่อมั่นว่าเป็นสถานที่ตรงกับสัมผัสที่ 6 จึงอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่ปักกลดตั้งปณิธานจะสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นวัด แล้วก็ลงมือปฏิสังขรณ์ ตั่งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

และก็มีเรื่องที่น่าพิศวงในวันปิยมหาราช ปีเดียวกันนั้นช่วงโพล้เพล้ ใกล้มืด มีชาย 4 คน ยกพระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าองค์จริงมาถวาย ในระหว่างที่กำลังจะจดชื่ออนุโมทนา แค่แวบเดียว ชายทั้ง 4 คน ก็หายตัวไปไร้ร่องรอย แม้ศิษย์วัดที่อยู่กันไม่ไกลนักก็ยังปฏิเสธว่าไม่เห็นชายกลุ่มนี้เลย ยิ่งส่งผลทำให้เกิดศรัทธาปาฏิหาริย์ทุก ๆ ปีจึงจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

และเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ครูบาศรีนวล ประสบเคราะห์กรรม ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ขั้นสุดท้ายใคร ๆ ก็ว่าไม่รอด ถึงขนาดซื้อหีบศพมาเตรียมตัว ไว้แล้ว แต่ด้วยความเชื่อมั่นและเลื่อมใสในพลังบารมีของพระพุทธเจ้าหลวงจึงได้จุดธูป ตั้งจิตอธิฐานขอให้รอดจากภยันภัยแห่งโรคร้าย

และปาฏิหาริย์ก็มีจริง จากวันนั้นเป็นต้นมาอาการอาพาธก็เริ่มดีขึ้น จนกระทั่งแข็งแรงเป็นปกติ จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งพลังให้เพิ่มพูนศรัทธาต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ปัจจุบันแม้มิใช่วันปิยะฯ ก็มีผู้คนและศิษยานุศิษย์ครูบาศรีนวลมาสักการบูชาเป็นประจำ

สำหรับในปีนี้ วันที่ 23 ตุลาคม 2551 ทางวัดเพลงก็จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเป็นการย้อนยุคด้วยการสวดเจริญชัยยะมงคลปลดทาส โดยการนำเอาบทสวดของพิธีกรรมล้านนาเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทางประกาศเลิกทาสมาสวด เป็นบทนำในพิธีกรรม พิธีก็จะเริ่มในเวลา 09.39 จนจบพิธีในเวลา 11.39 3 ชั่วโมงเต็ม สำหรับผู้เข้าร่วมพิธีกรรม จะได้รับ ยันต์บารมี 30 ทัศสมเด็จพระปิยะมหาราช ไว้พกมาให้คุ้มครองภัย รอดพ้นจากความเป็นทาสสู่ความเป็นไท ทุกท่าน ฟรีครับ

การเดินทางไปวัดเพลง สำหรับที่ที่มาจากสี่แยกสนามบินน้ำข้ามสะพานนนทบุรี เลยศูนย์ อีซูซุมาสักหน่อยพอถึงแยกไทรม้า ทางซ้ายมือก็ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไป มีป้ายบอกทางตลอด สำหรับท่านที่มีมาจากบางใหญ่บางบัวทอง ให้ท่านวิ่งไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ไม่ต้องข้ามสะพานน่ะครับ ให้ท่านกลับรถใต้สะพานนนทบุรี กลับมาที่แยกไทรม้าแล้วก็เลี้ยวซ้ายเข้าวัดเพลงไปเลย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

เจ้าพระยาสายน้ำแห่งวัฒนธรรม พร้อมกับพยุหยาตราชลมารค

สวัสดีครับพี่น้อง ผมไปได้ภาพบรรยากาศของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคมาฝากกัน ในรูปแบบที่เห็นวิธีการฝึกซ้อม โดยปกติเราจะเห็นภาพสวย ๆ กันเป็นขบวน ๆ แต่ผมจะนำภาพที่เก็บรายละเอียดที่ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

เรือพระราชพิธี 52 ลำ จัดเต็มรูปแบบ "กระบวนพยุหยาตราชลมารค" ในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน จัดขึ้นในวโรกาส "พ่อของแผ่นดิน" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา กองทัพเรือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีจัดยิ่งใหญ่ตั้งแต่การซ้อม 26, 29 ตุลาคม 2550 เพื่อแสดงจริงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 เสียงเห่เรือก้องลำน้ำจากฝีพายในริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ 2,082 นาย เป็นภาพตรึงใจคนไทยและชาวต่างชาติ ทุกครั้ง การจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบท่ามกลางสายน้ำเชี่ยวกราก หากความมุ่งมั่นของเหล่าฝีพาย 5 ริ้ว ความยาว 1,280 เมตร กว้าง 90 เมตร ประกอบด้วย "เรือพระที่นั่ง" 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ รายล้อมด้วย "เรือรูปสัตว์" 12 ลำ เรือ ครุฑเหินเห็จ ครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือเอกไชยเหินหาว เรือ เอกไชยหลาวทอง เรือเสือทะยานชล เรือเสือ คำรณสินธุ์ และ "เรืออื่นๆ" 36 ลำ เรือกลองนอก เรือกลองใน เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 7 ลำ เรือตำรวจ 3 ลำ ตลอดระยะทางเหนือท้องน้ำความยาว 4 กิโลเมตรจุดเริ่มริ้วกระบวนเรือตลอดระยะทางผ่าน "ท่าวาสุกรี (จอดหลังสะพานพระราม -ผ่านป้อมพระสุเมรุ-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า- โรงพยาบาลศิริราช-กรมอู่ทหารเรือ-ราชนาวิกสภา-พระบรมมหาราชวัง-หอประชุมกองทัพเรือ-วัดอรุณราชวรารามวัฒนธรรมประเพณี "กฐินหลวง" มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิจวบจนประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินนี้ ชาวสยามนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดกันต่อมา โดย พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองสยามทรงรับเป็น "พระราชพิธี" พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินตามพระราชพิธีจะเรียกกฐินหลวงทั้งสิ้นต่อมาบ้านเมืองเจริญประชาชนศรัทธาโดยเจริญรอยตามพระราชศรัทธาในหลวงทุกพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ถวายกฐินได้ตามฐานะ เป็นเหตุให้กฐินหลวงแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีกฐินต้น และกฐินพระราชทานกฐินกำหนดตามพระราชพิธีนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ณ วัดสำคัญที่ทางราชการกำหนด ปัจจุบันมีวัดในกรุงเทพฯและปริมณฑล 16 วัดประกอบด้วยวัดในกรุงเทพฯ 12 วัด คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดเบญจมบพิตรฯ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชาธิวาส วัดประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชโอรสวราราม วัดมกุฏกษัตริยาราม และ วัดอรุณราชวราราม วัดในปริมณฑล 4 วัด คือ วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และวัดในพระนครศรีอยุธยา 2 วัด วัดนิเวศธรรมประวัติ และวัดสุวรรณดารารามพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินตามปกติพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เอง 8-9 วัด นอกเหนือจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรม วงศานุวงศ์หรือองคมนตรีที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ถวายกฐินเป็นประจำทุกปีระหว่างนำเรือพระราชพิธีเคลื่อนไปตามลำน้ำมีมรดกวัฒนธรรมอันงดงาม "ประเพณี เห่เรือ" สำหรับปี 2550 เป็นไฮไลต์ของกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพราะกาพย์เห่เรือแต่งขึ้นใหม่เพื่อเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ความล้ำค่าของกระบวนพยุหยาตราชลมารคและประเพณีเห่เรือเหนือลำน้ำเจ้าพระยา นอกจากสถาปัตยกรรมการออกแบบรูปเรือแต่ละลำรูปทรงงดงามแล้ว ยังถือเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียวที่ทรงคุณค่าเลิศล้ำของคนไทยในชาติทุกคน

































































































วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วัดใต้น้ำ หลวงพ่ออุตมะ

สังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 215 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิ 74 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนเขาแหลม มองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม อำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า \"สามประสบ\" คือบริเวณที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย
หลวงพ่ออุตมะ เดิมชื่อ เอหม่อง เป็นชาวมอญโดยกำเนิด ได้ฉายาว่า อุตตมะรัมโภ แปลว่า ผู้มีความเพียรสูงสุด ท่านได้ มรณภาพ ด้วยโรคอัมพาต เรื้อรัง ในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยอายุ 95 ปี


ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและมอญได้ร่วมก้นสร้างขึ้น เมื่อปี 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับสิบปี ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งน้ำลดจะสามารถสังเกตเห็นตัวโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจนและสามารถนั่งเรือไปเที่ยวชมได้ แต่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมดเหลือเพียงยอดของโบสถ์ให้เห็นเท่านั้น กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ ในชื่อเมืองบาดาล


































บรรยากาศใต้น้ำ











ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพให้พวกเราได้ดูได้ชมกัน