วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปูไก่ ปูน้ำจืด สีสวยงาม มีเสียงร้องเหมือนไก่

ปูไก่ ปูน้ำจืด สีสวยงาม มีเสียงร้องเหมือนไก่
ปูไก่ หลาย ๆ คนก็ต้องสงสัยว่า หน้าตาปูต้องเหมือนไก่ หรือไม่ก็ต้องเสียงร้องเหมือนไก่ หลาย ๆ คนก็เดาถูก เพราะความจริงแล้วปูไก่ มีชื่อว่าปูไก่ก็เพราะว่ามีเสียงร้องเหมือนไก่ สีสันสวยงาม ชอบอยู่ตามธรรมชาติ ใกล้ลำธารน้ำจืด เป็นที่ชื่นชอบสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่้งมองเห็นปูไก่มีหน้าตาที่แปลกสวยกว่าปูทั่ว ๆ ไป  และที่สำคัญปูไก่มีเสียงร้องเหมือนไก่นั่นเอง


“ปูไก่” คือ ปู เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกับปูทั่วไป แต่ที่เรียกปูไก่ก็เพราะมีเสียงร้องคล้ายกับไก่ ปูไก่มีขนาดใหญ่ประมาณกำมือ มีกระดองสีแดงอมม่วง แดงอมส้ม หรือบางตัวก็มีสีน้ำเงินเหลือบ เป็นปูน้ำจืดที่ชอบอยู่ตามลำธาร
       


       ปกติแล้วจะพบปูไก่ได้ตามเกาะทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะที่เกาะสี่ แห่งหมู่เกาะสิมิลัน ก็มีปูไก่เป็นอีกหนึ่งจุดดึงดูดในฐานะอันซีนไทยแลนด์ ในช่วงค่ำคืนปูไก่จะออกมาหากิน ทางอุทยานแห่งชาติสิมิลันจัดเป็นกินกรรมท่องเที่ยวออกไปส่องดูปูไก่ เดินถือไฟฉายย่องเงียบๆ เข้าไปส่องดูตามรู รอปูไก่เดินตุปัดตุเป๋ออกมาหากิน


       
       แต่ถ้าไปที่เกาะตาชัย แม้แต่ในช่วงเวลากลางวันก็สามารถไปสังเกตการณ์วิถีของปูได้เลย เนื่องจากยังเป็นเกาะที่เงียบสงบ ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น กิจกรรมยอดฮิตบนเกาะตาชัย นอกจากจะไปพักผ่อนกับหาดทรายขาวนุ่มละเอียด พร้อมฟ้าใสๆ และน้ำทะเลสวยๆ แล้ว ก็ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะเพื่อเข้าไปดูปูไก่ แต่มีข้อแม้ให้เดินตามเส้นทางเท่านั้น และจะต้องไม่ส่งเสียงดัง เพราะจะได้ไม่รบกวนความเป็นอยู่ของปูไก่มากเกินไป


วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บึงฉวาก อุทยานผักพื้นบ้าน ศูนย์รวมปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด

บึงฉวาก อุทยานผักพื้นบ้าน ศูนย์รวมปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด
บึงฉวาก ในวันหยุดวันพักผ่อน อุทยานผักพื้นบ้าน บึงฉวากเป็นศูนย์รวมปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พ่อแม่ผู้ปกครองก็อย่าพลาด พาบุตรหลานไปเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์แห่งนี้ ณ บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี  บึงฉวากเดินทางสะดวกสบาย บนเส้นทาง สุพรรณบุรี-ชัยนาท


บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ 

บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง 

บึงฉวากเป็นลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชี้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด   น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1  3 เมตร
บึงฉวากกว้างใหญ่ไพศาล เป็นแหล่งรวมปลาน้ำจืดนานาชนิด และสัตว์อื่น ๆ อีกมากมาย  

บึงฉวาก ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่เป็นธรรมชาติที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง
ภายในบึงฉวากก็มีบริการรถนั่งชมภายในบึงฉวากฟรี
รถยนต์นั่งพาชมบึงฉวาก ถูกออกแบบตกแต่งอย่างสวยงามตามสไตล์ของบึงฉวาก ใครเห็นก็เป็นต้องเข้าไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันบรรยากาศ บึงฉวาก สงบ ร่มเย็น รอคุณมาสัมผัสกับบรรยากาศบึงธรรมชาติเนื้อที่ถึง 2,700 ไร่

บึงฉวาก นอกจากจะมีปลา และสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายแล้ว  ยังมีอุทยานผักพื้นบ้าน อยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน โดยรวบรวมผักพื้นบ้านจากทั่วภูมิภาค ของประเทศไทยกว่า 500  ชนิด มาปลูกไว้ในบริเวณเกาะกลางบึงฉวาก มีทั้งสมุนไพร ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย และไม้ชื้นแฉะที่น่าสนใจได้แก่ น้ำเต้าสี่เหลี่ยม บวบหอมขนาดใหญ่ อุโมงค์น้ำพุ

บึงฉวากได้นำผักพื้นบ้านหน้าตาแปลกหลากหลายชนิด นำมาให้คุณ ๆ ได้พาบุตรหลานได้มาสัมผัสกันซึ่งปัจจุบันนับว่าหาดูได้ยากมากภายในอุทยานผักพื้นบ้านบึงฉวาก ก็มีเด็ก ๆ นำผักพื้นบ้านมาขายกันในราคาที่ย่อมเยาว์

 บึงฉวากมีการจัดสวนไม้ประดับด้วยผักพื้นบ้าน นอกจากนั้นยังมีโรงปลูกพืชระบบระเหยน้ำ และสาธิตการปลูกพืชไร้ดินจัดแสดงให้ชมด้วย และมีห้องสมุดบริการคอมพิวเตอร์ สำหรับค้นคว้าข้อมูลพันธุ์ผักต่าง ๆ ภายในบึงฉวาก

การจัดสวนในบึงฉวากนั้น  ก็ได้ออกแบบตกแต่งสวนหย่อมได้อย่างลงตัวขนาดนำเอากระถางปลูกต้นไม้มาร้อยเรียงกันเป็นกระเช้าก็สวยงามไปอีกแบบ

พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ในบึงฉวาก รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งสวน เช่นตอไม้ขนาดใหญ่ ก็นำมาดัดแปลงในการจัดสวนได้อย่างลงตัว สวยแปลกไปอีกแบบบึงฉวาก ได้จัดสวนหลากหลายรูปแบบ มีทั้งไม้ดัดเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มากมาย เช่นมังกรพ่นน้ำตัวนี้ ใคร ๆ ก็ต้องไปลองนำมือไปแตะที่ปากไม้ดัดรูปมังกร  ก็จะมีน้ำพ่นออกมาจากปากพร้อมมีไฟสีแดงสว่างขึ้นที่ดวงตาเด็ก ๆ เห็นแล้วก็ต้องรีบไปลองกันซะหน่อยว่ามันเป็นยังไง
บึงฉวาก ได้นำผักต่าง ๆ หลากหลายสายพันธุ์ฺมาปลูกไว้ในกระถางเพื่อให้ได้ชมกันอย่างชนิดใกล้ชิด  รวมถึงเป็นการประดับประดาด้วยพืชผักด้วย เป็นไอเดียที่เก๋ที่สุดพ่อแม่ผู้ปกครองก็อย่าลืมพาน้อง ๆ หนู ๆ ไปเที่ยวบึงฉวากกันน่ะครับ

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วัดสะแก วัดสวยกลางเมืองโคราช ติดกับตลาดแม่กิมเฮง

วัดสะแก วัดสวยกลางเมืองโคราช ติดกับตลาดแม่กิมเฮง
วัดสะแก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นวัดที่อยู่ใจกลางเมืองโคราช ติดกับตลาดแม่กิมเฮง เป็นวัดที่สร้างอย่างวิจิตรบรรจง สวยงามเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวนครราชสีมา  เป็นวัดที่สืบสานพระพุทธศาสนา  มีการเีรียนการสอนพระวินัยต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า 
วัดสะแก เป็นวัดที่ติดกับตลาดแม่กิมเฮง มีหลาย ๆ คนอาจจะไม่เคยเห็นแม้เคยไปซื้อของฝากที่ตลาดแม่กิมเฮงแล้วก็ตาม อาจจะไปจอดรถในวัดสะแกแห่งนี้  แต่ก็ไม่เคยเดินไปเที่ยวชมภายในวัดเลย ก็อาจจะไม่ทราบว่าวัดสะแกแห่งมีมีพุทธศิลปะอย่างงดงามวัดหนึ่งเลยก็ว่าได้

ภายในวัดสะแกแห่งนี้ ได้สร้างขึ้นเพื่อพุทธศาสนิกชนได้ใช้ประโยชน์ในการอบรมจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ตามที่พระพุทธเจ้าได้วางแนวทางไว้ในพระไตรปิฎก

วัดสะแกเป็นวัดที่สร้างด้วยความวิจิตรบรรจง เป็นศูนย์กลางพระพุึทธศาสนา เป็นที่เผยแำพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า 

ความงดงามแห่งพุทธศิลปของวัดสะแกแห่งนี้ มีความงดงามมาก

พระอุโบสถที่สร้างอย่างวิจิตรบรรจง

ภายในวัดสะแก






บรรยากาศภายในวัดสะแก สำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี


ใบเสมาสีทองขนาดใหญ่ภายในวัดสะแก


ลานจอดรถภายในวัดสะแก ที่เราเห็นแต่ด้านหลัง หากเราไปด้านหน้าก็จะเห็นภาพสวย ๆ ที่นำมาฝาก

หากไปเที่ยวเืมืองโคราช ไปซื้อของฝากที่ตลาดแม่กิมเฮง หากเข้าไปจอดรถที่วัดสะแกแห่งนี้ก็อย่าลืมเดินชมวัดบ้างก็ได้  เราก็จะได้เห็นพุทธศิลปที่มีความงดงามยิ่งนัก  เราจะได้ไม่เสียเที่ยวในการเดินทาง

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตลาดแม่กิมเฮง หน้าย่าโม เมืองโคราช ไหว้พระวัดสะแก

ตลาดแม่กิมเฮง หน้าย่าโม เมืองโคราช ไหว้พระวัดสะแก
ตลาดแม่กิมเฮง เป็นตลาดที่ใคร ๆ รู้จักกันดีในเมืองโคราช ซึ่งอยู่ด้านหน้าอนุสาวรีย์ย่าโม ซึ่งเป็นตลาดสดมีของขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของฝาก ของกินเล่น ผัีกสด ๆ ผักพื้นบ้าน ปลาน้ำจืด ปลาทะเลก็มี หมูยอ กุนเชียง ขึ้นชื่อ หากท่านได้ไปพักที่เมืองโคราช ตื่นเช้า ๆ ก็ไปเดินตลาดหาของกิน หรือว่าจะเดินชมบรรยากาศเมืองโครราชยามเช้าก็ตามอัธยาศัย
ตลาดแม่กิมเฮง ด้านที่ติดกับวัดสะแก ด้านหน้าจะมีรถสามล้อถีบรับจ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่  หากท่านจะชมเมืองโคราชก็เหมาได้ราคาไม่แพง  ตลาดแม่กิมเฮง บรรยากาศยามเช้า

วัดสะแก ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ตรงข้ามกับตลาดแม่กิมเฮง  หากใครไปเที่ยวตลาดก็จะต้องไปจอดรถในวัดสะแกแห่งนี้  ก็ทำบุญ 10 บาท เป็นการชำระค่าธรณีสงฆ์


ภายในตลาดแม่กิมเฮง ก็มีของขายมากมายไก่ยางรสเด็ด ไส้กรอกอีสาน 

หมี่โคราชวางเรียงราย  ซึ่งเป็นอาหารสุดยอดของโคราช  ของฝากมากมาย หากไปแล้วก็หาซื้อติดไม้ติดมือมาฝากพรรคพวกเพื่อนฝูง  ผักสด ๆ มีให้เลือกสรร เหมือนกับตลาดทั่ว ๆ ไป

ตลาดแม่กิมเฮง เป็นตลาดที่ใหญ่พอสมควร  มีร้านค้ามากมาย  ร้านโจ๊ก ซึ่งมีอยู่ร้านเดียว รสชาดอร่อย สะอาดถูกหลักอนามัย 

ร้านโจ๊ก ซึ่งเป็นร้านเดียวในตลาดแม่กิมเฮง ขายดีมาก เพราะอร่อย สะอาด ผมรองมาแล้วอร่อยมาก ๆ 
ใคร ๆ ไปเดินตลาดแม่กิมเฮง ก็จะต้องไปกินโจ๊กร้านนี้แน่นอน

ผลไม้ ของฝาก มีให้เลือกซื้อเลือกหามากมาย

ผลไม้ก็มากมาย หลากหลายชนิด  ร้านขายผลไม้ ตลาดแม่กิมเฮง

สามล้อถีบ รอผู้โดยสารอยู่หน้าตลาดแม่กิมเฮงผู้คนมากมาย เดินซื้อของฝากติดไม้ติดมือกัน  คนละถุึง 2 ถุง    ความคึกคักของตลาดแม่กิมเฮง

ลานจอดรถวัดสะแก เป็นลานจอดรถที่กว้างขวางพอสมควร มองจากวัดสะแก ก็จะเห็นตลาดแม่กิมเฮง อยู่ฝั่งตรงข้ามถนนสะดวก ปลอดภัย ไร้กังวล คุณลุงคอยบริการจัดสรรที่จอดรถให้เป็นอย่างดี
ลานจอดรถวัดสะแก  ภายในลานจอดรถวัดสะแก

ผักพื้นบ้าน ก็มีวางขาย หากใครชอบผักแบบบ้าน ๆ ก็ขอเชิญ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาพหลวงพ่อสด เจดีย์กลางน้ำ พระไตรปิฎกหินอ่อน พุทธมณฑล

ภาพหลวงพ่อสด  เจดีย์กลางน้ำ พระไตรปิฎกหินอ่อน พุทธมณฑล

ภาพหลวงพ่อสด ภายในพุทธมณฑล ซึ่งตั้งอยู่ในเจดีย์กลางน้ำ พระไตรปิฎกหินอ่อน มีภาพวาดหลวงพ่อสดอยู่บนเพดาน ซึ่งมีความงดงามมาก และน้อยคนนักจะได้เห็น หากไม่ได้เข้าไปภายในเจดีย์กลางน้ำแห่งนี้  ซึ่งอยู่ด้านหลังองค์พระพุทธมณฑล 
หากเดินตรงเข้าไปภายในเจดีย์กลางน้ำ ก็จะเห็นพระไตรปิฎกหินอ่อน และเดินเข้าไปข้างในก็จะเห็นหลวงพ่อสดสร้างด้วยหินอ่อนนั่งอยู่ และหากเงยมองขึ้นไปบนเพดานก็จะเห็นเป็นภาพวาดของหลวงพ่อสด

ภาพหลวงพ่อสด วาดบนเพดานอย่างงดงาม รายล้อมด้วยเทวดามากมาย

เจดีย์สีทอง อยู่ตรงกลาง ประดิษฐานองค์หลวงพ่อสด

องค์หลวงพ่อสด สร้างจากหินอ่อน บนเพดานก็จะเห็นภาพวาดเทวดาและภาพหลวงพ่อสดอยู่ตรงกึ่งกลางด้านบน

ภาพวาดเทวดา ที่อยู่บนเพดาน วาดอย่างงดงาม วิจิตรบรรจง


วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ภาค2)

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ภาค2)

พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเอกลักษณ์ของชาติ เอกราชทางดินแดน และมรดกทางวัฒนธรรมแห่งปัญญาของสยามประเทศ ใช้เวลาบ่มเพาะมานานหลายร้อยปีจากการดำเนินพระราโชบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัติย์ไทย ตลอดจนจากภูมิปัญญาของบรรพชนอันควรค่าแก่การเทิดทูนบูชาและ จารึกไว้ในจิตสำนึกของอนุชน รุ่นหลัง   ตั้งแต่โบราณกาล ชาวไทยผูกพันชิดใกล้กับสายน้ำมาโดยตลอด  การทำนาปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพ ต้องอาศัยน้ำสร้างบ้านแปลงเมืองก็ต้องอยู่ใกล้แม่น้ำไปมาหาสู่กันก็อาศัยน้ำนำพา เรือกลายเป็นวิถีชีวิต ของชนชาติไทยตั้งแต่สามัญชนถึงพระมหากษัติย์ จากเรือขุดเรียบง่ายที่ใช้เป็นพาหนะพัฒนาเป็นเรือที่ใช้ในการรบ  ปรับปรุงแต่งเสริมเป็นเรือพระราชพิธีอย่างงดงามวิจิตร  จึงเกิดเป็นขบวนพยุหยตราทางชลมารคที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


การซ้อมใหญ่ การซ้อมย่อย ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง ความสวยงาม ให้สมกับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ  

ฝีพายเรือพระราชพิธีนั้น กว่าที่จะพายจริงกันแบบนี้ ก็ต้องผ่านการฝึกมานานแรมปี ตั้งแต่การฝึกบนบก การฝึกในบ่อฝึก และการฝึกจริงในลำน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้

ฝีพายเรือพระราชพิธีนั้น จึงต้องพายพร้อมเพรียงกันทั้งหมด 52 ลำ พร้อมกับเสียงเห่เรือ ซึ่งได้แต่งใหม่ทุกครั้งที่มีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชักสำหรับไว้ชักเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งมีหน้าตาที่แปลกและมีความเป็นเอกลักษณ์

เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ พายในท่านกบินเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

บรรยากาศบริเวณสะพานพระราม 8 ซึ่งเตรียมความพร้อมในการใช้เสด็จพระราชดำเนินจากท่าวาสุกรีถึงวัดอรุณฯ

เรือเสือทยานชล ด้านหน้าหัวเรือเป็นรูปเสือ เป็นเรือพิฆาต จะแล่นส่ายไปส่ายมา

เรือเสือทนายชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือคู่พิฆาต

เรือตำรวจ เป็นเรือที่ปิดท้ายขบวนเรือพระที่นั่ง

เรือรูปสัตว์ ก็จะประกอบด้วย เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์  เรืออสุรปักษา เรืออสุรวายุภักษ์ เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น 

พลสัญญาณ บอกนายเรือว่าขณะนี้เรือเสมอกันแล้ว 

นายท้ายเรือ 2 นาย ทำหน้าที่นายท้าย

เรือดั้งสีดำ แต่งกายด้วยชุดสีดำ หมวกยอดแหลม เป็นเรือที่อยู่แถวนอกสุดในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือที่ผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก ก็จะมีความสวยงาม เป็นระเบียบ 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช


เรือพระที่นั่งนารายณ์ทางสุบรรณ รัชการที่ 9