วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

เจ้าพระยาสายน้ำแห่งวัฒนธรรม พร้อมกับพยุหยาตราชลมารค

สวัสดีครับพี่น้อง ผมไปได้ภาพบรรยากาศของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคมาฝากกัน ในรูปแบบที่เห็นวิธีการฝึกซ้อม โดยปกติเราจะเห็นภาพสวย ๆ กันเป็นขบวน ๆ แต่ผมจะนำภาพที่เก็บรายละเอียดที่ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

เรือพระราชพิธี 52 ลำ จัดเต็มรูปแบบ "กระบวนพยุหยาตราชลมารค" ในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน จัดขึ้นในวโรกาส "พ่อของแผ่นดิน" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา กองทัพเรือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีจัดยิ่งใหญ่ตั้งแต่การซ้อม 26, 29 ตุลาคม 2550 เพื่อแสดงจริงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 เสียงเห่เรือก้องลำน้ำจากฝีพายในริ้วกระบวนเรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ 2,082 นาย เป็นภาพตรึงใจคนไทยและชาวต่างชาติ ทุกครั้ง การจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบท่ามกลางสายน้ำเชี่ยวกราก หากความมุ่งมั่นของเหล่าฝีพาย 5 ริ้ว ความยาว 1,280 เมตร กว้าง 90 เมตร ประกอบด้วย "เรือพระที่นั่ง" 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ รายล้อมด้วย "เรือรูปสัตว์" 12 ลำ เรือ ครุฑเหินเห็จ ครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือเอกไชยเหินหาว เรือ เอกไชยหลาวทอง เรือเสือทะยานชล เรือเสือ คำรณสินธุ์ และ "เรืออื่นๆ" 36 ลำ เรือกลองนอก เรือกลองใน เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือดั้ง 22 ลำ เรือแซง 7 ลำ เรือตำรวจ 3 ลำ ตลอดระยะทางเหนือท้องน้ำความยาว 4 กิโลเมตรจุดเริ่มริ้วกระบวนเรือตลอดระยะทางผ่าน "ท่าวาสุกรี (จอดหลังสะพานพระราม -ผ่านป้อมพระสุเมรุ-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า- โรงพยาบาลศิริราช-กรมอู่ทหารเรือ-ราชนาวิกสภา-พระบรมมหาราชวัง-หอประชุมกองทัพเรือ-วัดอรุณราชวรารามวัฒนธรรมประเพณี "กฐินหลวง" มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิจวบจนประดิษฐานอยู่บนแผ่นดินนี้ ชาวสยามนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดกันต่อมา โดย พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองสยามทรงรับเป็น "พระราชพิธี" พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินตามพระราชพิธีจะเรียกกฐินหลวงทั้งสิ้นต่อมาบ้านเมืองเจริญประชาชนศรัทธาโดยเจริญรอยตามพระราชศรัทธาในหลวงทุกพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ถวายกฐินได้ตามฐานะ เป็นเหตุให้กฐินหลวงแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีกฐินต้น และกฐินพระราชทานกฐินกำหนดตามพระราชพิธีนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ณ วัดสำคัญที่ทางราชการกำหนด ปัจจุบันมีวัดในกรุงเทพฯและปริมณฑล 16 วัดประกอบด้วยวัดในกรุงเทพฯ 12 วัด คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดเบญจมบพิตรฯ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชาธิวาส วัดประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชโอรสวราราม วัดมกุฏกษัตริยาราม และ วัดอรุณราชวราราม วัดในปริมณฑล 4 วัด คือ วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และวัดในพระนครศรีอยุธยา 2 วัด วัดนิเวศธรรมประวัติ และวัดสุวรรณดารารามพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินตามปกติพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายด้วยพระองค์เอง 8-9 วัด นอกเหนือจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรม วงศานุวงศ์หรือองคมนตรีที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ถวายกฐินเป็นประจำทุกปีระหว่างนำเรือพระราชพิธีเคลื่อนไปตามลำน้ำมีมรดกวัฒนธรรมอันงดงาม "ประเพณี เห่เรือ" สำหรับปี 2550 เป็นไฮไลต์ของกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพราะกาพย์เห่เรือแต่งขึ้นใหม่เพื่อเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ความล้ำค่าของกระบวนพยุหยาตราชลมารคและประเพณีเห่เรือเหนือลำน้ำเจ้าพระยา นอกจากสถาปัตยกรรมการออกแบบรูปเรือแต่ละลำรูปทรงงดงามแล้ว ยังถือเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียวที่ทรงคุณค่าเลิศล้ำของคนไทยในชาติทุกคน

































































































ไม่มีความคิดเห็น: