วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ภาค2)

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ภาค2)

พระราชพิธีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเอกลักษณ์ของชาติ เอกราชทางดินแดน และมรดกทางวัฒนธรรมแห่งปัญญาของสยามประเทศ ใช้เวลาบ่มเพาะมานานหลายร้อยปีจากการดำเนินพระราโชบายอันชาญฉลาดของพระมหากษัติย์ไทย ตลอดจนจากภูมิปัญญาของบรรพชนอันควรค่าแก่การเทิดทูนบูชาและ จารึกไว้ในจิตสำนึกของอนุชน รุ่นหลัง   ตั้งแต่โบราณกาล ชาวไทยผูกพันชิดใกล้กับสายน้ำมาโดยตลอด  การทำนาปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงชีพ ต้องอาศัยน้ำสร้างบ้านแปลงเมืองก็ต้องอยู่ใกล้แม่น้ำไปมาหาสู่กันก็อาศัยน้ำนำพา เรือกลายเป็นวิถีชีวิต ของชนชาติไทยตั้งแต่สามัญชนถึงพระมหากษัติย์ จากเรือขุดเรียบง่ายที่ใช้เป็นพาหนะพัฒนาเป็นเรือที่ใช้ในการรบ  ปรับปรุงแต่งเสริมเป็นเรือพระราชพิธีอย่างงดงามวิจิตร  จึงเกิดเป็นขบวนพยุหยตราทางชลมารคที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน


การซ้อมใหญ่ การซ้อมย่อย ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียง ความสวยงาม ให้สมกับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ  

ฝีพายเรือพระราชพิธีนั้น กว่าที่จะพายจริงกันแบบนี้ ก็ต้องผ่านการฝึกมานานแรมปี ตั้งแต่การฝึกบนบก การฝึกในบ่อฝึก และการฝึกจริงในลำน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้

ฝีพายเรือพระราชพิธีนั้น จึงต้องพายพร้อมเพรียงกันทั้งหมด 52 ลำ พร้อมกับเสียงเห่เรือ ซึ่งได้แต่งใหม่ทุกครั้งที่มีขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชักสำหรับไว้ชักเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งมีหน้าตาที่แปลกและมีความเป็นเอกลักษณ์

เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ พายในท่านกบินเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

บรรยากาศบริเวณสะพานพระราม 8 ซึ่งเตรียมความพร้อมในการใช้เสด็จพระราชดำเนินจากท่าวาสุกรีถึงวัดอรุณฯ

เรือเสือทยานชล ด้านหน้าหัวเรือเป็นรูปเสือ เป็นเรือพิฆาต จะแล่นส่ายไปส่ายมา

เรือเสือทนายชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือคู่พิฆาต

เรือตำรวจ เป็นเรือที่ปิดท้ายขบวนเรือพระที่นั่ง

เรือรูปสัตว์ ก็จะประกอบด้วย เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์  เรืออสุรปักษา เรืออสุรวายุภักษ์ เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น 

พลสัญญาณ บอกนายเรือว่าขณะนี้เรือเสมอกันแล้ว 

นายท้ายเรือ 2 นาย ทำหน้าที่นายท้าย

เรือดั้งสีดำ แต่งกายด้วยชุดสีดำ หมวกยอดแหลม เป็นเรือที่อยู่แถวนอกสุดในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

เรือที่ผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก ก็จะมีความสวยงาม เป็นระเบียบ 

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช


เรือพระที่นั่งนารายณ์ทางสุบรรณ รัชการที่ 9

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

การซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กองทัพเรือ กำหนดการซ้อมใหญ่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในวันที่ 2 และ 6 พฤศจิกายน 2555 นี้ และวันจริงในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา 15.00 น.    โดยผู้บัญชาการกองทัพเรือ ยืนยัน การซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมีความพร้อม ฝีพายสามารถรับการเปลี่ยนแปลงกระแสลมและน้ำได้ เชิญชวนประชาชนร่วมชมการซ้อมเสมือนจริง และพิธีจริงโดยพร้อมเพรียงกัน
พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานแถลงข่าวการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ณ อาคารราชนาวิกสภา โดยกล่าวว่า การจัดขบวนพยุหยาตรทางชลมารคครั้งนี้ มีฝีพายเรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นกำลังพลจากกองทัพเรือกว่า 2,311 นาย มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือใหม่ โดยนาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย ข้าราชการบำนาญกองทัพเรือ สำหรับการเตรียมงาน กองทัพเรือได้ซักซ้อมมานานกว่า 9 เดือน เนื่องจากมีความกังวลเรื่องสภาพอากาศในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ซึ่งการซ้อมที่ผ่านมา ฝีพายพบสภาพอากาศและกระแสน้ำหลายรูปแบบ เชื่อว่าในพิธีจริงฝีพายทั้งหมด จะสามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี และขอเชิญชวนประชาชน ร่วมรับเสด็จพระราชดำเนินและชมความสวยงามของขบวนเรือตลอดสองริมฝั่งเจ้าพระยา จากท่าวาสุกรีถึงท่าเรือวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ในวันซ้อมใหญ่เสมือนจริง วันที่ 2 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 และในวันจริงวันที่ 9 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 15.00 น.
ด้านพลเรือโทพจนา เผือกผ่อง รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดงาน กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะตรวจเยี่ยมการซ้อมใหญ่วันแรก ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ซึ่งจะสรุปความพร้อมทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีทราบ ส่วนตัวยืนยันว่า การเตรียมการทั้งหมด พร้อมเต็มที่แล้ว


กำหนดวันจริงในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน หรือต้นเดือนหน้านี้ จะมีการจัดงานในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยปีนี้ จะมีขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค 5 ริ้ว มีเรือทั้งหมด 52 ลำ ที่สำคัญ คือ กองทัพเรือ ยังได้มีการประพันธ์กาพย์เห่เรือขึ้นมาใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


สำหรับกาพย์เห่เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ขับร้องเห่โดย..นาวาโทณัฐวัฎ อร่ามเกลื้อ ประพันธ์ขึ้นมาใหม่โดยนาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย สำหรับใช้ในงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายนนี้เป็นครั้งแรก 


สำหรับเสียงและจังหวะของการเห่เรือ เป็นตัวกำหนดจังหวะของฝีพาย ซึ่งปีนี้ใช้กำลังพล จากกองทัพเรือและหน่วยงานต่างๆ กว่า 2,311นาย ฝึกซ้อมและเตรียมความพร้อมมานานกว่า 9 เดือน 
 

มีขบวนเรือ 5 ริ้ว จำนวนเรือทั้งหมด 52 ลำ ประกอบไปด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ นำโดยเรืออนันตนาคราช ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 และมาสร้างแทนลำเดิมอีกในรัชกาลที่ 6 
ตามด้วยเรือสุพรรณหงส์ รัชกาลที่ 6 เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือเอกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างในรัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยเรือรูปสัตว์ 8 ลำ และเรือพระราชพิธีอื่นๆ อีก 40 ลำ 



การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ครั้งล่าสุด คือ การจัดงานพระราชพิธี เมื่อปี 2550 ส่วนการจัดงานครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 16 โดยทั้งหมดนี้ยึดตามแบบอย่าง โบราณราชประเพณี ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีเอกลักษณ์ที่เป็นหนึ่งในเดียวในโลก
 


โดยประชาชนสามารถรอเข้าร่วมรับชมฝึกซ้อมย่อยก่อนถึงวันงานพระราชพิธีได้อีกครั้ง ในวันที่ 25 และ 29 ตุลาคม และวันซ้อมใหญ่เหมือนจริง ในวันที่ 2 และ 6 พฤศจิกายนนี้ บริเวณสะพานพระราม 8 ถึง วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกาเป็นต้นไป