หลวงพ่ออุตมะ เดิมชื่อ เอหม่อง เป็นชาวมอญโดยกำเนิด ได้ฉายาว่า อุตตมะรัมโภ แปลว่า ผู้มีความเพียรสูงสุด ท่านได้ มรณภาพ ด้วยโรคอัมพาต เรื้อรัง ในวันที่ 18 ตุลาคม 2549 หลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยอายุ 95 ปี
วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วัดใต้น้ำ หลวงพ่ออุตมะ
สังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 215 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอทองผาภูมิ 74 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะตัดผ่านภูเขาเลียบทะเลสาบเขื่อนเขาแหลม มองเห็นทัศนียภาพที่งดงาม อำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า \"สามประสบ\" คือบริเวณที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแควน้อย
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพ แต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า เทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่า ดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี
ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้ากือนา ได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพ โดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจา จังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง 1 ใน 4 ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย (พระอารามหลวงหมายถึง วัดที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเจาอยู่หัวฯ) ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมาก เสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล
บันใดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันใดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นใด นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันใดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า
รถรางไฟฟัาได้นำมาใช้บริการประชาชนผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี ตอนแรกๆ ก็ใช้เพียงขนของสัมภาระขึ้น-ลงพระธาตุเท่านั้น ต่อมาภายหลังได้ทำการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น จึงให้้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีอายุการใช้งานรถรางไฟฟ้านานมากแล้ว ทางวัดจึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่เพื่อจะนำมาเสริมสร้างบริการที่ดี และปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วยความมั่นใจยิ่ง
วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
วัดปากคลองมะขามเฒ่า วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ประมาณ 20 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 3183 กิโลเมตรที่ 36–37 เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่ต้นหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วย
วัดนี้มีความสำคัญ คือ เป็นวัดที่เคยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่ง ก็ คือ "พระครูวิมลคุณากร (ศุข)" หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม "หลวงปู่ศุข" ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังเป็นอาจารย์ของเสด็จใน "กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์" พระราชโอรสในรัชกาลที่5 บิดาแห่งกองทัพเรือ เรื่องที่ทำให้ กรมหลวงชุมพร ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ศุข มีอยู่ว่า
วัดนี้มีความสำคัญ คือ เป็นวัดที่เคยมีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่ง ก็ คือ "พระครูวิมลคุณากร (ศุข)" หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม "หลวงปู่ศุข" ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังเป็นอาจารย์ของเสด็จใน "กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์" พระราชโอรสในรัชกาลที่5 บิดาแห่งกองทัพเรือ เรื่องที่ทำให้ กรมหลวงชุมพร ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ศุข มีอยู่ว่า
วันหนึ่งขณะที่กรมหลวงชุมพร ท่านล่องเรือเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยา ท่านได้มาเทียบท่าเพื่อพัก การเดินทางที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้เห็นพระภิกษุชราผู้หนึ่ง กำลังเล่นแกล้งลูกศิษย์ เด็กๆ ท่านเห็นพระภิกษุชราผู้นั้น เก็บหัวปลีกล้วยมาเสกเป็นกระต่ายให้ลูกศิษย์วิ่งไล่จับ พอจับได้จึงกลายเป็นหัวปลีกล้วยดังเดิม เสด็จในกรมเห็นดังนั้น เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในตัวจึงเข้าไปหา และทราบชื่อว่าท่านคือ หลวงปู่ศุข นั่นเอง
เสด็จในกรม มาหาท่านบ่อยมาก ถึงขนาด ชาวบัานแถบนั้นรู้จักท่านเกือบทุกคน รู้กระทั่ง เสด็จในกรม ท่านโปรดปราณ "อ้ายเป้" เป็นพิเศษ อ้ายเป้ก็คือ การเอาข้าว มาหมักจนได้ที่ก็จะกลายเป็น สุราชนิดหนึ่ง รสชาติดีมาก หลวงปู่ศุขได้สอนวิชาอาคม ให้เสด็จในกรม จนท่านเป็นผู้มี อาคมชั้นเลิศ สามารถ แก้ทางปืน ไม่ให้โดนได้ เสกผ้ายันต์ได้เสมอหลวงปู่ศุข สามารถแปลงเป็นจระเข้ได้ (ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า) ท่านสามารถยิงปืนนัดเดียว ทะลุทีละ 20 กว่าคนหรือหมด ทัพได้ (ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า
เสด็จในกรม มาหาท่านบ่อยมาก ถึงขนาด ชาวบัานแถบนั้นรู้จักท่านเกือบทุกคน รู้กระทั่ง เสด็จในกรม ท่านโปรดปราณ "อ้ายเป้" เป็นพิเศษ อ้ายเป้ก็คือ การเอาข้าว มาหมักจนได้ที่ก็จะกลายเป็น สุราชนิดหนึ่ง รสชาติดีมาก หลวงปู่ศุขได้สอนวิชาอาคม ให้เสด็จในกรม จนท่านเป็นผู้มี อาคมชั้นเลิศ สามารถ แก้ทางปืน ไม่ให้โดนได้ เสกผ้ายันต์ได้เสมอหลวงปู่ศุข สามารถแปลงเป็นจระเข้ได้ (ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า) ท่านสามารถยิงปืนนัดเดียว ทะลุทีละ 20 กว่าคนหรือหมด ทัพได้ (ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า
ในปัจจุบัน วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้รับการปรับปรุงจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่ง ที่มี นักท่องเที่ยวแวะเวียนกันมาประจำ ภายในวัด คุณจะได้พบกับภาพฝีพระหัตถ์กรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์ ที่ท่านวาดให้หลวงปู่ศุขเมื่อตอนสร้างโบสถ์ และ ศาลา กุฏิเก่าหลวงปู่ศุข ท่านสามารถนมัสการ รูปหล่อหลวงปู่ศุข และกรมหลวงชุมพรเขตตุอุดมศักดิ์ ภาพถ่าย ที่มีมาตั้งแต่สมัยหลวงปู่ศุขท่านยังมีชีวิตอยู่ หุ่นขี้ผึ้ง หลวปู่ศุข และมณฑปเก่าที่หลวงปู่ศุขยังสร้างไม่ทันเสร็จ ก็ มรณะภาพเสียก่อน ทางจังหวัดได้บูรณะจนสวยงาม และ วัตถุโบราณ ที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ศุข
วัดร่องขุ่น สุดยอดงานศิลป์ อ.เฉลิมชัย
ผมใฝ่ฝันที่จะสร้างวัด (อุโบสถ) สักหลังก่อนตาย สาเหตุเพราะผมเป็นชาวพุทธแท้ ผมเป็นจิตรกร หลังจากที่ผมได้ทำบุญครั้งใหญ่ ปี ๒๕๒๗ ด้วยการเดินทางไปเขียนจิตรกรรมฝาผนังถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดพุทธปทีป ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๔ ปี ผมหมดเงินที่เคยสะสมมา ผมเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ปี ๒๕๓๑ ผมกลับไปที่บ้านเกิดของผม เพื่อกราบหลวงพ่อและถวายรูปพิมพ์ผลงานวัดพุทธปทีปให้ท่าน วัดบ้านผมทรุดโทรมมาก หลวงพ่อสมภารสุขภาพไม่ดีและชราภาพมาก อุโบสถหลังเล็กๆ ที่ผมเคยจำความได้ เคยเห็นพ่อผมกับเพื่อน ๆ ท่านในหมู่บ้าน ชักไม้ด้วยช้างมาร่วมกันสร้างวัด ผมเคยเห็นหลวงพ่อ ตายาย พ่อแม่ และพี่น้องชาวบ้านเดินทางไปอาราธนาหลวงพ่อศิลาดำใส่เกวียนออกมาจากป่า ผมเข้าไปในโบสถ์ที่ใชัสังฆกรรมไม่ได้ด้วยเหตุเพราะชำรุดมาก และกลายเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่ ผมตั้งอธิษฐานจิต ถ้าชีวิตผมพร้อมเมื่อไหร่ ผมจะกลับมาสร้างโบสถ์ใหม่ให้ได้ เวลา ๑๐ ปี ผ่านไปด้วยกุศลจิต ชีวิตผมและครอบครัวประสบความสำเร็จทุกอย่างพร้อมแล้ว ผมกลับไปบ้านเกิดดำเนินการร่วมกับหลวงพ่อสมภาร เริ่มร่างรูปอุโบสถหลังใหม่ตามจิตนาการของท่าน เพื่อให้ท่านได้มีส่วนร่วม ดังนั้น โครงสร้างลักษณะสถาปัตยกรรมในปีแรกจึงเป็นแบบตามใจหลวงพ่อสมภาร ใน ๒ ปีต่อมา ผมได้มาเริ่มต่อเติมเพิ่มสถาปัตยกรรมให้สง่าแปลกตาขึ้น โดยเพิ่มบันไดด้านข้างขึ้น ประดับเปลวพระรัศมี ทั้ง ๔ แบบ และขุดสระสร้างสะพานข้ามเข้าสู่อุโบสถ พร้อมกับงานตกแต่งในเรื่องของลวดลายปูนปั้นประดับกระจกภายนอก เขียนแบบและหาช่างพื้นบ้านและแม่บ้านในหมู่บ้านมาฝึกสอนปั้นและประดับกระจกทั้งหมด ๑๐ คน ผมได้เริ่มงานมาถึงบัดนี้ ปี ๒๕๔๓ ๓ ปีแล้วครับ คาดว่า จะใช้เวลาอีก ๗ ปี ถึงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ทั้งลวดลายปูนปั้นภายนอกและจิตรกรรมฝาผนังภายใน ผมต้องหาเงินปีละประมาณล้านถึงสองล้านบาทเพื่อสร้างสรรค์ผลงานชิ้นสุดท้ายของชีวิตผมให้ดีที่สุด เท่าที่ฝีมือและสติปัญญาผมมีอยู่ วัดร่องขุ่นจะเป็นศิลป์สมบัติของคนไทยทุกคนและสุดท้ายวัดร่องขุ่นอาจเป็นศิลป์สมบัติอีกแห่งหนึ่งที่มีคุณค่าแก่โลกมนุษย์ในอนาคตก็ได้ แต่ทุกสิ่งไม่สำคัญเท่ากับบุญกุศลที่ผมและท่านผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านอุทิศถวายเพื่อเป็นทิพยสถานและพระนิพพานเป็นที่สุดกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมสร้างมหากุศลกับผม
๐ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ๐
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)